fbpx
Tel: 02-6190044, 086-3201990
Tel: 02-6190044, 086-3201990

ประวัติ (History)

เดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ชื่อ อเบล แอนชุน ทัสแมน ได้พบเกาะนิวซีแลนด์และชาวเมารีที่ส่วนใหญ่เป็นมิตร จึงได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า Nieuw Zeeland แล้วเพี้ยนมาเป็น New Zealand จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์จึงเป็นที่รู้จักกันท่ามกลางยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ หลังจากนั้นไม่นานกัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้างประกอบกับโชคดีที่คนบนเรือสามารถพูดภาษา Waitangi ได้จึงสามารถเจรจาสื่อสารกับชาวเมารีและพบว่าชาวเมารีเป็นนักรบ จึงได้ทำสัญญาตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป เมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันเองและทำให้ชนเผ่ามีจำนวนลดลง ทางอังกฤษจึงได้ส่งคนมาทำสัญญาที่มีชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ (Complete Chieftainship) แก่ชาวเมารี และได้ส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอบสัน

 


weather

สภาพอากาศและภูมิประเทศ (Weather & Geography)

นิวซีแลนด์ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ ดังนั้นฤดูกาลจึงแตกต่างจากประเทศของเราที่อยู่ในซีกโลกเหนือ อากาศที่นี่จะดีตลอดทั้งปี มีฝนตกบ้างในฤดูหนาว และอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน

 

summer-icon ฤดูร้อน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ 20°C – 25°C
autumn-icon ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม – พฤษภาคม 15°C – 20°C
winter-icon ฤดูหนาว มิถุนายน – สิงหาคม 10°C – 15°C
spring-icon ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน – พฤศจิกายน 15°C – 20°C

*** สภาพอากาศที่นี่จะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ดังนั้นควรเตรียมเสื้อกันหนาว และเสื้อกันฝนกันลมก่อนไปด้วย ***

 


kiwi

ชาวนิวซีแลนด์ (Kiwi or New Zealander)

ปัจจุบันประเทศนิวซีแลนด์มีประชากรกว่า 4.4 ล้านคน ประมาณ 69% มีเชื้อสายยุโรป 14.6% เป็นชาวเมารีโดยกำเนิด 9.2% เป็นชาวเอเชีย และอื่นๆ อีก 6.9% หากแบ่งตามภูมิประเทศ มากกว่า 3 ใน 4 ของประชากรอาศัยอยู่ในเกาะเหนือ และ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ส่วนเมืองอื่นๆ ได้แก่ เวลลิงตัน ไคร์ทเชิร์ส และฮามิลตัน จะเป็นเมืองหลักที่มีชาวกีวี่อาศัยอยู่ คนที่นี่จะใช้ชีวิตค่อนข้างเรียบง่าย เนื่องจากประเทศมีความสงบ เรียบร้อย อยู่กับธรรมชาติ จึงทำให้ผู้คนมีอัธยาศัยดี เป็นมิตร มีน้ำใจ นอกจากนี้ชาวกีวี่ยังคลั่งไคล้การทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะกิจกรรมทางน้ำ

 


culture

วัฒนธรรม (Culture)

เนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองเดิมของที่นี่คือ ชาวเมารี หลังจากที่อังกฤษมาปกครอง วัฒนธรรมของชาวนิวซีแลนด์จึงเป็นวัฒนธรรมของคนอังกฤษ และยังคงรักษารากฐานวัฒนธรรมของชาวเมารีไปด้วย นอกจากนี้ในเมืองใหญ่ๆ มีผู้คนจากหลายหลายประเทศเริ่มมาอาศัยอยู่มากขึ้น จึงมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมผสม (Melting-pot) เช่น โอ๊คแลนด์ และ เวลลิงตัน

 


เงินตรา (Currency)

ที่นี่จะใช้สกุลเงิน ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย $1 NZD ≈ 22 บาท แบบธนบัตรมีแบงค์ 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์ ส่วนเหรียญที่ใช้จะมี 10 และ 20 เซ็นต์ และ 1, 2 ดอลลาร์ บัตรเครดิตจากต่างประเทศสามารถใช้ซื้อของได้หากตัวบัตรมีการเข้ารหัส 4 ตัวอักษร ซึ่งคุณสามารถเช็คข้อมูลดังกล่าวจากธนาคารที่ประเทศไทยก่อนนำไปใช้ที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้

 


telephone

โทรศัพท์ และ อินเตอร์เนต (Telephone & Internet)

3 บริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์คือ Vodafone, Spark และ 2Degrees สามารถหาซื้อซิมการ์ดได้ที่สนามบิน หรือร้านค้าในตัวเมืองที่มีป้ายชื่อสัญลักษณ์ของค่ายโทรศัพท์นั้นๆ ศึกษาเรื่องแพ็คเกจการโทรให้ละเอียด ส่วนอินเตอร์เนต เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นเกาะ ที่นี่การใช้ Internet จะค่อนข้างจำกัดและมีราคาสูง นักเรียนสามารถใช้บริการ wifi ฟรีจากทางสถาบันหรือโรงเรียนได้ แต่ที่บ้านพักจำต้องถามโฮสแฟมิลี่ก่อนด้วยว่ามีเงื่อนไขอย่างไร

 


electricity

ระบบไฟฟ้า (Electricity)

นิวซีแลนด์ใช้ไฟ 240 โวลต์ และตัวปลั๊กจะมีสามตา เหมือนกับประเทศออสเตรเลีย แนะนำให้ซื้อหัวปลั๊กจากเมืองไทยติดไปด้วย(ราคาถูกกว่า) หาซื้อได้ที่ Power buy หรือแผนกไฟฟ้า ตามห้างสรรพสินค้า

 


time

เวลา (Time)

เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 5 – 6 ชั่วโมง
ตุลาคม – มีนาคม เวลาเร็วกว่าเมืองไทย 6 ชั่วโมง
เมษายน- กันยายน เวลาเร็วกว่าเมืองไทย 5 ชั่วโมง

 


shopping

เวลาทำการ (Office Hour)

bank
ธนาคาร
จันทร์-ศุกร์ 09.30-16.30 น.

store

ธุรกิจและร้านค้าต่างๆ
จันทร์-พุธ
พฤหัส-ศุกร์
เสาร์
09.00-17.30 น.
09.00-21.00 น.
09.00-12.30 น.

restaurant

ร้านอาหาร
อาทิตย์-พฤหัสบดี 11.30-15.00 น.
18.00-21.00 น.
ศุกร์-เสาร์ 18.00-23.00 น.

supermarket

ซุปเปอร์มาร์เก็ต
ทุกวัน 09.00-21.00 น.
หรือ 24 ชั่วโมง

 


post

ไปรษณีย์ (Post Office)

ค่าส่งจดหมายระหว่างประเทศอยู่ที่ $2.30 NZD ขึ้นอยู่กับขนาดของซองจดหมายและน้ำหนักของพัสดุ ใช้บริการได้ที่ NZ Post Shop

 


อาหาร (Foods)

  1. หอยแมลงภู่ Marlborough ที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่รู้จักดีถึงประโยชน์ทางด้านสุขภาพซึ่งรวมถึงการรักษาโรคไขข้อเสื่อม
  2. Whitebait (ลักษณะคล้ายปลาเฮอร์ริ่งขนาดเล็ก) พบมากบริเวณชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ มักจะจับได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและรับประทานโดยชุบแป้งทอด
  3. หอยนางรมแห่งเมือง Bluff (Bluff Oysters) เติบโตอย่างช้าๆ ในน้ำที่เย็นและสะอาดของช่องแคบ Foveaux เมื่อถึงฤดูกาลหอยนางรมจะถูกจำหน่ายไปทั่วประเทศนิวซีแลนด์
  4. หอยเชลล์ (Scallops)
  5. เนื้อแกะย่าง (Roast Lamb) ที่ฉ่ำและนุ่มเป็นรสชาติที่โปรดปรานของชาวกีวี่ แกะของประเทศนิวซีแลนด์เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกและยังเป็นหนึ่งในเนื้อที่ส่งออกอันดับต้นๆ ของประเทศ
  6. ฮังกิ – อาหารของชาวเมารี (Māori hāngī) ฮังกิเป็นอาหารดั้งเดิมของชาวเมารีมากว่า 2,000 ปี แต่ปัจจุบันจะทำแค่ตอนมีโอกาสพิเศษเท่านั้น ส่วนผสมของฮังกิมีไก่ เนื้อหมู เนื้อแกะ และพืชผักที่หลากหลาย
  7. ไอศกรีมรส Hokey Pokey คล้ายๆ รสวนิลาและมีส่วนผสมของรังผึ้ง
  8. พัฟโลวา (Pavlova) เป็นขนมประเภทเมอร์แรง ปาดหน้าด้วยครีมและจัดวางด้วยผลไม้สด
  9. ผลกีวี่ (Kiwi)
  10. ไวน์ – ไวน์ของประเทศนิวซีแลนด์โดดเด่นในเรื่องความบริสุทธิ์ และความเข้มข้น

 


 

language

ภาษา (Language)

ภาษาที่ใช้ทางราชการ คือ ภาษาอังกฤษ แต่มีภาษาเมารีและกีวี่แสลงที่ควรรู้ ได้แก่

  • Haere-mai (ฮาย-เร-มาย) แปลว่า ยินดีต้อนรับ
  • Haere-re (ฮาย-เร-รา) แปลว่า ลาก่อน
  • Kia-ora (เคีย-โอ-รา) แปลว่า โชคดี หรือใช้อวยพรก่อนลาจากกัน
  • Haka (ฮากา) แปลว่า การเต้นรำก่อนทำศึก
  • Aotearoa (เอา-เต-อา-รัว) แปลว่า ดินแดนแห่งแนวเมฆขาว เป็นชื่อที่ชาวเมารีใช้เรียกประเทศนิวซีแลนด์

 


sport

กีฬา (Sports)

ชาวนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญกับการกีฬาและรักการผจญภัยมาก กีฬาประจำชาติคือ รักบี้ โดยมีทีมชื่อดังอย่าง All Blacks รองลงมาเป็น คริกเก็ต ฟุตบอล และเน็ตบอล และที่พลาดไม่ได้คือกีฬาสุดท้าทายอย่างบันจี้จั๊ม ซึ่งเป็นกีฬาที่ถูกคิดค้นโดยชาวนิวซีแลนด์ โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนิวซีแลนด์จะนิยมเล่นกีฬาแต่ละประเภทตามฤดูกาล เช่น ในฤดูร้อนจะนิยมเล่น บาสเก็ตบอล กอล์ฟ เทนนิส พายเรือ และกีฬาทางน้ำต่างๆ โดยเฉพาะล่องเรือใบและเซิร์ฟบอร์ด ส่วนในฤดูหนาวจะนิยมเล่นสกีและสโนว์บอร์ด รวมทั้งกีฬาในร่มทั้งหลาย

 


home

ที่พักในนิวซีแลนด์

homestay-icon โฮมสเตย์ (Homestay) น้อง ๆ จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาวกีวี และได้ฝึกภาษากับเจ้าของบ้าน ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของที่พักลักษณะนี้ นอกจากนั้น นักเรียนยังรู้สึกถึงความอบอุ่นในรูปแบบครอบครัวเดียวกันอีกด้วย Homestay ส่วนใหญ่จะต้องผ่านการตรวจมาตรฐานความปลอดภัยจากตำรวจก่อนที่จะสามารถอนุญาตให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาอยู่ได้ มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ทางครอบครัวจะดูแลอาหารเช้าและอาหารค่ำให้ 2 มื้อต่อวัน และ 3 มื้อในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
dormitory-icon Boarding House หรือ Student Accommodation เป็นหอพักสำหรับนักเรียน แต่ละหอพักจะมีผู้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ขิดทั้งเรื่องการกินอยู่หลับนอนและการเรียน น้อง ๆ จะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีระเบียบ พร้อมทั้งรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ ที่สนใจในสิ่งเดียวกันน และได้สนุกกับกิจกรรมที่ทางหอพักจัดให้กับนักเรียนมากมาย แต่ละหอพักจะมีกฏระเบียบของหอพักที่นักเรียนต้องปฏิบัติตาม โดยปกตินักเรียนที่อายุน้อย จะอยู่รวมกันห้องละหลาย ๆ คน เมื่อเรียนปีสุดท้ายก็จะมีโอกาสอยู่ห้องเดี่ยว เพื่อเป็นการฝึกและเตรียมตัวให้คุ้นเคยกับชีวิตนักเรียนในมหาวิทยาลัยในอนาคต หอพักจะปิดในช่วงปิดเทอมซึ่งนักเรียนที่ไม่ได้เดินทางกลับบ้าน สามารถย้ายไปอยู่โฮมสเตย์เป็นการชั่วคราวได้
apartment-icon Private Flat / Apartment หรือ ห้องพักเอกชน นักศึกษาที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถเช่าบ้านหรืออพาร์ทเม้นท์เป็นการส่วนตัว หรือแชร์กับผู้อื่นได้ นอกจากค่าที่พักแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอาหารด้วยตนเอง ส่วนใหญ่ที่พักแบบนี้ตั้งอยู่ในย่านที่สะดวกสบายในเรื่องการเดินทาง ราคาต่อสัปดาห์ตกประมาณ 150 – 180 เหรียญ
hostel_icon Hostel หรือบ้านพักเยาวชน ที่พักลักษณะนี้นิยมมากในหมู่นักท่องเที่ยว เนื่องจากราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีงบประมาณจำกัด ที่พักสะอาดสะอ้าน และอยู่ในย่านเมืองท่องเที่ยวสำคัญๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ และมีเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ราคาที่พักแบบนี้คิดเป็นต่อคืน มีตั้งแต่ราคา 25 เหรียญ ไปจนถึง 100 เหรียญ ขึ้นอยู่กับลักษณะของที่พัก แบบห้องพักรวม หรือแบบห้องพักเดี่ยว